วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมประเทศมาเลเซีย

การแสดงของประเทศมาเลเซีย
การแสดงประเภทร่ายรำของชาวมาเลเชีย เช่น
1. ระบำซาปิน เป็นการแสดงฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซียโบราณ ตามประวัติเกิดขึ้นก่อนในดินแดนอาระเบีย และต่อมาได้มีคนนำมาเผยแพร่ในมาเลเซียในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ชาวบ้านทางภาคเหนือและตะวันตกของแหลมมลายูนิยมชมชอบการฟ้อนรำแบบนี้มาก การแสดงระบำซาปินมีผู้แสดง 12 คน แบ่งเป็นหญิงชายจำนวนเท่ากัน ฝ่ายละ 6 จับคู่เต้นกันเป็นกลุ่ม ใช้การยกเท้ายกขาพร้อมกันเป็นจังหวะ เครื่องแต่งกายเป็นแบบเรียบๆ ชายใส่หมวกอิสลามหรือหมวกแขก ใสเสื้อกั๊ก นุ่งโสร่ง หญิงนุ่งกระโปรง เสื้อรัดรูป มีผ้าแพรคลุมศีรษะ เต้นรำตามจังหวะดนตรี ซึ่งบรรเลงจากช้าไปหาเร็ว เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงระบำซาปินนี้ คือ กีตาร์แบบอาระเบียน หรือชื่อภาษาฝรั่งว่า Gambus กีตาร์ชนิดนี้คล้ายๆ แบนโจ นักดนตรีคนหนึ่งจะถือไว้ระหว่างอก ดีดไปด้วย เต้นสลับเท้าไปด้วย นอกจากกีตาร์แล้ว เครื่องดนตรีอื่นๆ ก็มีใช้ให้จังหวะคือกลองเล็ก 2 หน้า ที่ใช้ตีด้วยฝ่ามือ กลองชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า Maruas ให้จังหวะนำกีตาร์
2. ระบำโรดัต เป็นการเต้นรำพื้นเมือง ชุดนี้เป็นการเต้นในเทศกาลประเพณีทางศาสนา ครั้งแรกนิยมใช้แสดงโดยผู้ชายล้วนๆ ต่อมาวิวัฒนาการมาเป็นแบบสากล คือ ใช้ทั้งหญิงและชายแสดงเป็นกลุ่มรวมกัน เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการเต้นรำโรดัต คือ กลอง 2 หน้าลูกเล็กๆ ที่มีชื่อว่า คาปัต (Kapat) ตีกันให้จังหวะเท้าของผู้เต้น นอกจากกลองแล้วก็มีหีบเพลงบรรเลงด้วย การแสดงชุดนี้จะช้าไม่รวดเร็วเป็นลักษณะเล่นเท้าธรรมดา
3. ระบำอาชัค เป็นการรำอวยพรที่เก่าแก่ในราชสำนักของมาเลเชียในโอกาสที่ต้อนรับราชอาคันตุกะ หรือบุคคลสำคัญของราชสำนัก นอกจากนั้นยังใช้ในการแสดงละครมะโย่งด้วย

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น